พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่8)
การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ชื่อที่เรียกกันทั่วไปคือ "กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8") เป็นเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคตด้วยต้องพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 อย่างมีเงื่อนงำ ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการหมดบทบาททางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ (รวมทั้งกลุ่มการเมืองสายปรีดี) อย่างสมบูรณ์หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง
ลำดับเหตุการณ์
พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของรัชกาลที่ 8 ณ ทุ่งบางเขน 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489
2 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เริ่มมีพระอาการประชวรเกี่ยวกับพระนาภี (มีอาการปวดท้อง)
3 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9 ในเวลาต่อมา) เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนสำเพ็ง ด้วยการพระราชดำเนิน (เดิน) ท่ามกลางความปลาบปลื้มยินดีของพสกนิกร โดยเฉพาะชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนั้น
5 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าวในแปลงนาหลังตึกขาว ซึ่งปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร
7 มิถุนายน 2489 นายปรีดี พนมยงค์ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทตามรับสั่ง
8 มิถุนายน 2489 โปรดเกล้าฯ ให้นายปรีดี พนมยงค์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่ 2)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระอาการประชวรมากขึ้น เวลาเย็นวันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชปฏิบัติพระราชกิจแทนพระองค์
9 มิถุนายน 2489 (วันเกิดเหตุ)
2 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เริ่มมีพระอาการประชวรเกี่ยวกับพระนาภี (มีอาการปวดท้อง)
3 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9 ในเวลาต่อมา) เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนสำเพ็ง ด้วยการพระราชดำเนิน (เดิน) ท่ามกลางความปลาบปลื้มยินดีของพสกนิกร โดยเฉพาะชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนั้น
5 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าวในแปลงนาหลังตึกขาว ซึ่งปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร
7 มิถุนายน 2489 นายปรีดี พนมยงค์ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทตามรับสั่ง
8 มิถุนายน 2489 โปรดเกล้าฯ ให้นายปรีดี พนมยงค์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่ 2)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระอาการประชวรมากขึ้น เวลาเย็นวันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชปฏิบัติพระราชกิจแทนพระองค์
9 มิถุนายน 2489 (วันเกิดเหตุ)
พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง (สถานที่เกิดเหตุ)
ประมวลจากหนังสือ กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489หน้า 7-20 และ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.8 หน้า 17-19
ประมวลจากหนังสือ กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489หน้า 7-20 และ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ร.8 หน้า 17-19
เวลาประมาณ 5.00 น. สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงปลุกบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เพื่อถวายพระโอสถให้เสวย จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมต่อ
เวลาประมาณ 6.00 น. ทรงพระประชวรพระนาภี สมเด็จพระราชชนีเสด็จไปถวายน้ำมันละหุ่ง นม และบรั่นดีแต่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลแล้วเสด็จกลับ
เวลาประมาณ 6.20 น. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเข้าเวรถวายงานที่พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้รินน้ำส้มคั้นที่ห้องเสวยเพื่อคอยทูลเกล้าฯ ถวาย
เวลาประมาณ 7.00 น. - 8.00 น. มหาดเล็กรับใช้ขึ้นไปบนพระที่เตรียมจัดตั้งโต๊ะเสวย
เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ นายบุศย์เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตื่นพระบรรทมจึงนำน้ำส้มคั้นไปถวาย แต่พระองค์โบกพระหัตถ์ไม่เสวย แล้วเสด็จขึ้นพระแท่นบรรทมตามเดิม นายบุศย์จึงกลับมาประจำหน้าที่ ที่หน้าห้องพระบรรทมตามเดิม
เวลาประมาณ 8.30 พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาอานันมหิดลทรงตื่นบรรทมเข้าห้องสรง ยื่นประทับในห้องแต่งพระองค์ นายบุศย์ถวายน้ำส้มพระองค์ไม่ทรงรับเสด็จเข้าห้องพระบรรทมนายบุศย์ถือน้ำส้มเดินตามเสด็จ พระองค์เสด็จขึ้นพระแท่นบรรทม โบกพระหัตถ์ให้นายบุศย์ออกไป นายบุศย์ถือน้ำส้มออกไป มานั่งอยู่ที่ระเบียงหน้าพระทวารเข้าห้องแต่งพระองค์
เวลา 8.55 นายชิต สิงหเสนี ขึ้นไปบนพระที่นั่ง(บางหนังสือเล่าว่านายชิดมากับพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร) เพื่อวัดขนาดดวงพระตราเพื่อเอาไปให้ช่างทำหีบดวงพระตรา นายชิตกับนายบุศย์นั่งคอยอยู่หน้าห้องแต่งพระองค์
เวลา 9.00 น. พระพี่เลื้ยงเนื่อง (นางสาวเนื่อง จิตตดุลย์) ขึ้นไปบนพระที่นั่ง เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนีจัดห้องแล้วเก็บฟิล์มหนังในห้องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เวลาประมาณ 9 นาฬิกาเศษ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเสวยพระกระยาหารเช้าพระองค์เดียว ณ มุขพระที่นั่งด้านหน้ามีมหาดเล็กรับใช้ 2 -3 คนเสด็จออกจากโต๊ะเสวยไปทางห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพบนายชิด สิงหเสนี บุศย์ ปัทมศริน ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ทรงถวายพระอาการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล แล้วเสด็จกลับห้องของพระองค์
เวลาประมาณ 9.20 น. เสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ภายในห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นายชิตสะดุ้งอยู่มองหน้านายบุศย์และคิดหาที่มาของเสียงปืนอยู่ประมาณ 2 นาที จึงเข้าไปในห้องพระบรรทม พบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมหลับอยู่เป็นปกติ แต่ปรากฏว่ามีพระโลหิต (เลือด) ไหลเปื้อนพระศอ (คอ) และพระอังสะ (ไหล่) ด้านซ้าย
นายชิตจึงวิ่งไปที่ห้องบรรทมของสมเด็จพระบรมราชชนนีแล้วกราบทูลว่า “ในหลวงถูกยิง” สมเด็จพระบรมราชชนนีตกพระทัย ทรงร้องขึ้นได้เพียงคำเดียวและรีบวิ่งไปที่ห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทันที นายชิต, พระพี่เลี้ยงเนื่อง, สมเด็จพระอนุชาธิราช, และนางสาวจรูญได้วิ่งตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนนีไปติด ๆ (ดูแผนผังพระที่นั่งบรมพิมานประกอบ)
ขณะนั้นมีคนอยู่บริเวณพระที่นั่งชั้นบน 8 ด้วยกันคือ
1 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (บรรทมอยู่ในห้องของพระองค์)
2 นายชิด สิงหเสนี (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
3 นายบุศย์ ปัทมศริน (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
4 นายฉลาด เทียมงามสัจ (อยู่ห้องเสวยมุขพระที่นั่ง)
5 นางสาวจรูญ ตะละภัฎ (อยู่ในห้องสมเด็จพระบรมราชชนนี)
6 พระพี่เลี้ยงเนื่อง (อยู่ในห้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช)
7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (อยู่ในห้องเครื่องเล่น)
8 สมเด็จพระบรมราชชนนี (อยู่ในห้องของพระองค์)
ขณะที่เสียงปืนดังขึ้น นายชิด สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน นั่งอยู่ที่พื้นระเบียงหน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์เป็นทางเดียวจะเข้าสู่ห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันมหิดล (อ้างอิงจากหนังสือคดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8 ของบุญร่วม เทียมจันทร์ หน้า 20)
เมื่อไปถึงที่ห้องพระบรรทมนั้น ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตเสียแล้ว ในลักษณะของคนที่นอนหลับธรรมดา มีผ้าคลุมพระองค์ตั้งแต่ข้อพระบาทมาจนถึงพระอุระ ที่พระบรมศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว)
ข้างพระศพบริเวณข้อพระกรซ้ายมีปืนพก US Army ผลิตโดยบริษัท Colt ขนาดกระสุน 11 มม.ซึ่งได้รับมาจากหน่วย OSS (CIA) วางอยู่ในลักษณะชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ปากกระบอกปืนชี้ไปที่ปลายพระแท่นบรรทม สมเด็จพระบรมราชชนนีได้โถมพระองค์เข้ากอดพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จนสมเด็จพระอนุชาธิราชต้องพยุงสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประทับที่พระเก้าอี้ปลายแท่นพระบรรทม
ข้างพระศพบริเวณข้อพระกรซ้ายมีปืนพก US Army ผลิตโดยบริษัท Colt ขนาดกระสุน 11 มม.ซึ่งได้รับมาจากหน่วย OSS (CIA) วางอยู่ในลักษณะชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ปากกระบอกปืนชี้ไปที่ปลายพระแท่นบรรทม สมเด็จพระบรมราชชนนีได้โถมพระองค์เข้ากอดพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จนสมเด็จพระอนุชาธิราชต้องพยุงสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประทับที่พระเก้าอี้ปลายแท่นพระบรรทม
พระแท่นบรรทม (ถ่ายจากเบื้องพระบาท) (ภาพจากหนังสือ : คดีประวัติศาสตร์ ลอบปลงพระชนม์ ร.8 โดย บุญร่วม เทียมจันทร์)
จากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีจึงมีรับสั่งให้ตาม พ.ต.นายแพทย์หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ แพทย์ประจำพระองค์มาตรวจพระอาการของในหลวง ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องได้จับพระชีพจรของในหลวงที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย พบว่าพระชีพจรเต้นอยู่เล็กน้อยแล้วหยุด พระวรกายยังอุ่นอยู่ จึงเอาผ้าคลุมพระองค์มาซับบริเวณปากแผล และปืนกระบอกที่คาดว่าเป็นเหตุทำให้ในหลวงสวรรคตไปให้นายบุศย์เก็บพระแสงปืนไว้ที่ลิ้นชักพระภูษา เหตุการณ์ช่วงเองนี้ได้ก่อปัญหาในการพิสูจน์หลักฐานในเวลาต่อมาเมื่อมีการจัดตั้ง “ศาลกลางเมือง” เพื่อสอบสวนเกี่ยวกับกรณีสวรรคต
เวลาประมาณ 10.00 น. หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ได้มาถึงสถานที่เกิดเหตุและตรวจพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้ว โดยบริเวณปากแผลมีผ้าพันแผลพันอยู่ เมื่อแกะผ้าพันแผลออกไม่พบรอยเขม่าดินปืน นอกจากนี้พระบรมศพยังได้ถูกชำระในขั้นต้นไปแล้ว โดยสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ให้เหตุผลว่า จะได้ไม่เป็นการลำบากในการเตรียมงานถวายน้ำสรงพระบรมศพในช่วงบ่าย
จากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีจึงมีรับสั่งให้ตาม พ.ต.นายแพทย์หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ แพทย์ประจำพระองค์มาตรวจพระอาการของในหลวง ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องได้จับพระชีพจรของในหลวงที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย พบว่าพระชีพจรเต้นอยู่เล็กน้อยแล้วหยุด พระวรกายยังอุ่นอยู่ จึงเอาผ้าคลุมพระองค์มาซับบริเวณปากแผล และปืนกระบอกที่คาดว่าเป็นเหตุทำให้ในหลวงสวรรคตไปให้นายบุศย์เก็บพระแสงปืนไว้ที่ลิ้นชักพระภูษา เหตุการณ์ช่วงเองนี้ได้ก่อปัญหาในการพิสูจน์หลักฐานในเวลาต่อมาเมื่อมีการจัดตั้ง “ศาลกลางเมือง” เพื่อสอบสวนเกี่ยวกับกรณีสวรรคต
เวลาประมาณ 10.00 น. หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ได้มาถึงสถานที่เกิดเหตุและตรวจพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้ว โดยบริเวณปากแผลมีผ้าพันแผลพันอยู่ เมื่อแกะผ้าพันแผลออกไม่พบรอยเขม่าดินปืน นอกจากนี้พระบรมศพยังได้ถูกชำระในขั้นต้นไปแล้ว โดยสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ให้เหตุผลว่า จะได้ไม่เป็นการลำบากในการเตรียมงานถวายน้ำสรงพระบรมศพในช่วงบ่าย
ในช่วงเวลาเดียวกัน พระยาเทวาธิราช (ม.ร.ว.เทวาธิราช ป. มาลากุล) สมุหพระราชพิธีได้เดินทางไปที่ทำเนียบท่าช้าง ที่พักของนายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งข่าวการสวรรคต (ขณะนั้นนายปรีดีประชุมอยู่กับหลวงเชวงศักดิ์สงคราม (รมว.มหาดไทย) พล.ต.อ.พระรามอินทรา (อธิบดีกรมตำรวจ) และหลวงสัมฤทธิ์สุขุมวาท (ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล) ในเรื่องกรรมกรที่มักกะสันหยุดงานประท้วง)
ประมาณ 11.00 น. นายปรีดีมาถึงพระที่นั่งบรมพิมาน และสั่งให้พระยาชาติเดชอุดมอัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเชิญคณะรัฐมนตรี มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมสรุปว่าให้ออกแถลงการณ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ แถลงการณ์ของกรมตำรวจที่ออกมาในวันนั้นก็มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน
เวลา 21.00 น. รัฐบาลเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสรรหาผู้สืบราชสมบัติ ที่ประชุมได้ลงมติถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นสืบราชสมบัติ เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ต่อไป จากนั้นนายปรีดีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบในกรณีสวรรคต
10 มิถุนายน 2489 เจ้าหน้าที่และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เดินทางมาทำการฉีดยารักษาสภาพพระบรมศพ ระหว่างการทำความสะอาดพระบรมศพเพื่อเตรียมการฉีดยานั้น คณะแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้พบบาดแผลที่พระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย)
ซึ่งเป็นบาดแผลที่ทะลุจากรูกระสุนปืนที่พระพักตร์บริเวณพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงระหว่างพระขนง (คิ้ว) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า
ที่จริงแล้วในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยว่ารัฐบาลมีส่วนในการปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมตำรวจจึงออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าได้ตั้งประเด็นการสวรรคตไว้ 3 ประเด็น คือ
มีผู้ลอบปลงพระชนม์
ทรงพระราชอัตวินิบาตกรรม (ปลงพระชนม์เอง)หรือเป็นอุบัติเหตุ
11 มิถุนายน 2489
กรมตำรวจยังคงแถลงการณ์ยืนยันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตด้วยอุบัติเหตุ แต่ประชาชนยังคงมีความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลอยู่เช่นเดิม ในวันนี้ทางกรมตำรวจได้นำปืนของกลางที่พบในวันสวรรคตไปให้กรมวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ
นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกฯอีกครั้ง
การดำเนินคดี
การตั้งคณะกรรมการการสอบสวน
ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อสอบหาข้อเท็จจริงให้ปรากฏ ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ ประธานพฤฒสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สามพระองค์ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นเลขานุการ และนายสอาด นาวีเจริญ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
การชันสูตรพระบรมศพ
โดยทดลองยิงศพที่ร.พ.ศริราช ครั้งที่1 ยิงประชิตผิวหนัง ครั้งที่2 โดยยิงระยะไกล ครั้งที่3 ยิงระยะ48ซ.ม
รัฐประหาร พ.ศ. 2490
ผลกระทบ
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สืบราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
นายปรีดี พนมยงค์ได้รับผลกระทบจากคดีนี้มากที่สุด เพราะถูกคนกล่าวหาว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" เนื่องจากชี้แจงสาเหตุการสวรรคตแก่ประชาชนได้ไม่ชัดเจนและคลี่คลายคดีนี้ไม่สำเร็จ และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นายปรีดีไม่เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลยจนสิ้นชีวิต
หลังจากการลี้ภัยทางการเมืองเพราะเหตุการณ์กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ได้ให้ลูกชาย (ปาล พนมยงค์) และคนรู้จักที่อยู่เมืองไทยคอยช่วยต่อสู้คดีหมิ่นประมาทจากกรณีสวรรคตอยู่ตลอด เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนก่อคดีกรณีสวรรคตนี้แต่อย่างใด ซึ่งผลปรากฏว่าชนะทุกคดี
คดีนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างสำคัญประการหนึ่งในการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เนื่องจากรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) ไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองฝ่ายนายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากเวทีการเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย
ประมาณ 11.00 น. นายปรีดีมาถึงพระที่นั่งบรมพิมาน และสั่งให้พระยาชาติเดชอุดมอัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเชิญคณะรัฐมนตรี มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมสรุปว่าให้ออกแถลงการณ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ แถลงการณ์ของกรมตำรวจที่ออกมาในวันนั้นก็มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน
เวลา 21.00 น. รัฐบาลเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสรรหาผู้สืบราชสมบัติ ที่ประชุมได้ลงมติถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นสืบราชสมบัติ เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ต่อไป จากนั้นนายปรีดีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบในกรณีสวรรคต
10 มิถุนายน 2489 เจ้าหน้าที่และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เดินทางมาทำการฉีดยารักษาสภาพพระบรมศพ ระหว่างการทำความสะอาดพระบรมศพเพื่อเตรียมการฉีดยานั้น คณะแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้พบบาดแผลที่พระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย)
ซึ่งเป็นบาดแผลที่ทะลุจากรูกระสุนปืนที่พระพักตร์บริเวณพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงระหว่างพระขนง (คิ้ว) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า
ที่จริงแล้วในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยว่ารัฐบาลมีส่วนในการปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมตำรวจจึงออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าได้ตั้งประเด็นการสวรรคตไว้ 3 ประเด็น คือ
มีผู้ลอบปลงพระชนม์
ทรงพระราชอัตวินิบาตกรรม (ปลงพระชนม์เอง)หรือเป็นอุบัติเหตุ
11 มิถุนายน 2489
กรมตำรวจยังคงแถลงการณ์ยืนยันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตด้วยอุบัติเหตุ แต่ประชาชนยังคงมีความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลอยู่เช่นเดิม ในวันนี้ทางกรมตำรวจได้นำปืนของกลางที่พบในวันสวรรคตไปให้กรมวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ
นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกฯอีกครั้ง
การดำเนินคดี
การตั้งคณะกรรมการการสอบสวน
ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อสอบหาข้อเท็จจริงให้ปรากฏ ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ ประธานพฤฒสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สามพระองค์ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นเลขานุการ และนายสอาด นาวีเจริญ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
การชันสูตรพระบรมศพ
โดยทดลองยิงศพที่ร.พ.ศริราช ครั้งที่1 ยิงประชิตผิวหนัง ครั้งที่2 โดยยิงระยะไกล ครั้งที่3 ยิงระยะ48ซ.ม
รัฐประหาร พ.ศ. 2490
ผลกระทบ
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สืบราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
นายปรีดี พนมยงค์ได้รับผลกระทบจากคดีนี้มากที่สุด เพราะถูกคนกล่าวหาว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" เนื่องจากชี้แจงสาเหตุการสวรรคตแก่ประชาชนได้ไม่ชัดเจนและคลี่คลายคดีนี้ไม่สำเร็จ และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นายปรีดีไม่เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลยจนสิ้นชีวิต
หลังจากการลี้ภัยทางการเมืองเพราะเหตุการณ์กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ได้ให้ลูกชาย (ปาล พนมยงค์) และคนรู้จักที่อยู่เมืองไทยคอยช่วยต่อสู้คดีหมิ่นประมาทจากกรณีสวรรคตอยู่ตลอด เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนก่อคดีกรณีสวรรคตนี้แต่อย่างใด ซึ่งผลปรากฏว่าชนะทุกคดี
คดีนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างสำคัญประการหนึ่งในการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เนื่องจากรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) ไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองฝ่ายนายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากเวทีการเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย
ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 8 มักจะเขียนสาเหตุของการสวรรคตไว้แต่เพียงสั้น ๆ ทำนองว่า "เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" หลายฉบับอาจระบุสาเหตุเพิ่มเติมด้วย ทำนองว่า "เป็นเพราะพระแสงปืนลั่นระหว่างทรงทำความสะอาดพระแสงปืน" เข้าใจว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการโต้เถียงกรณีสวรรคต
อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากกรณีสวรรคตนี้แม้ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัดเจน จึงทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ซึ่งพยายามจะอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลักก็คือกรณีสวรรคตนี้ เป็นการปลงพระชนม์โดยบุคคลอื่น หรือ รัชกาลที่ 8 ทรงกระทำการอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง
สำหรับทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ก็จะต้องอธิบายประเด็นสำคัญให้ได้คือ ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต? และประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ จำเลยที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่ากระทำความผิดนั้น แท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่?
ประเด็น ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต
สถานการณ์ในขณะนั้นพุ่งเป้าไปที่ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งประเด็นนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากนายปรีดีในขณะนั้นมีศัตรูทางการเมืองอยู่จำนวนมากที่ต้องการจะกำจัดออกไป เช่น กลุ่มทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่สูญเสียอำนาจหลังร่วมกับญี่ปุ่นนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้น
ในหนังสือ The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I(พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543)ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน ซึ่งเป็นแขกที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงระยะหนึ่ง ได้เขียนไว้ว่า สายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ (Tsuji Masanobu) ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์
ประเด็น จำเลยทั้งสามเป็นผู้บริสุทธิ์จริงหรือไม่
ข้อสังเกตก็คือ ในขณะที่การสืบสวนโดยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กำลังคืบหน้านั้น คณะทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งให้ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแต่งตั้ง พล.ต.ต. พระพินิจชนคดี (พี่เขยของ ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แห่งพรรคประชาธิปัตย์) อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ารับราชการ เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ นำไปสู่การจับกุมจำเลยทั้งสามในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพียง 12 วันหลังรัฐประหาร และหลังจากการจับกุมนั้น
พระพินิจชนคดีก็ยังไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันในระยะเวลาสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดคือ 90 วัน รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจึงได้เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ขยายกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีสวรรคตได้เป็นพิเศษ ให้ศาลอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาได้หลายครั้ง รวมเวลาไม่เกิน 180 วัน ก่อนการประหารชีวิต นายเฉลียว ปทุมรส 1 ใน 3 จำเลยของคดีดังกล่าว ได้ขอพบ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และเล่ากันว่านายเฉลียวได้บอกชื่อฆาตกรตัวจริงให้ พล.ต.อ.เผ่า ทราบ
ทฤษฎีที่เชื่อว่ารัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมพระองค์เอง
ทฤษฎีนี้มุ่งอธิบายประเด็นความขัดแย้งในราชสำนัก และเหตุผลที่ทำให้ในที่สุดรัชกาลที่ 8 ทรงตัดสินใจเช่นนั้น เอกสารสำคัญที่เสนอทฤษฎีนี้ก็คือหนังสือ The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam โดย เรนย์ ครูเกอร์ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2507
หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อ กงจักรปีศาจ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) เคยเขียนวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ลงใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด รวมถึงวิจารณ์ตัวนายปรีดีและผู้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากสุลักษณ์เชื่อว่าปรีดีมีส่วนเกี่ยวของกับการปลงพระชนม์
แต่เมื่อเวลาผ่านไปในภายหลัง สุลักษณ์ได้เขียนเล่าในปาจารยสาร ฉบับกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2550 ว่าการเขียนวิจารณ์ในครั้งนั้นเป็นเพราะเขาหลงเชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่อ และต่อมาเขาจึงไถ่บาปด้วยการเขียนหนังสือเกี่ยวกับปรีดี และต่อมามีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Powers That Be: Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy
ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาหาหลักฐานเกี่ยวกับกรณีสวรรคตมากสักเพียงใด มีการเสนอทฤษฎีและคำอธิบายต่อกรณีดังกล่าวมากสักเพียงใด ก็ไม่มีทฤษฎีใดเลยที่ได้รับการยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
และถึงแม้สังคมจะยอมรับกันแล้วว่านายปรีดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต แต่กรณีคดีของจำเลยทั้งสามที่ถูกประหารชีวิตไปก็ไม่เคยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่เลย ทั้งในกระบวนการยุติธรรมหรือการศึกษาหาความจริงใหม่ ทั้งที่ข้อกล่าวหาของจำเลยทั้งสามและปรีดีนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด (ข้อกล่าวหาคือ "ปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของจำเลยทั้งสาม")[4] และมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าอย่างน้อยนายเฉลียวหนึ่งในสามจำเลยน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์
ความเชื่อ
ในตอนเช้าวันสวรรคต ระหว่างการชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาที่หน้ากองทัพอากาศ ดอนเมือง ปรากฏว่า ผืนธงได้ถูกลมพัดร่วงหล่นลงพื้น และที่หน้ากระทรวงกลาโหม ธงก็ชักไปติดแค่ครึ่งเสา ชักต่อไม่ได้ ทั้งสองเหตุการณ์นี้เสมือนลางบอกเหตุร้าย
ก่อนเกิดเหตุการณ์สวรรคต บนท้องฟ้าทางด้านทิศตะวันตกบังเกิดริ้วเมฆ 3 ชั้นซ้อนกันเหมือนโกศ และมีแสงสีรุ้งเป็นประกายส่องอยู่ข้างซ้ายของโกศ แนวของรุ้งนั้นใหญ่กว่าธรรมดา ดูแล้วเหมือนธงชาติพาดอยู่บนฟ้า ด้านขวาของเมฆรูปโกศมีแสงสีเหลืองเหมือนสายสะพายของเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น